วัตถุประสงค์
องค์การป่ารักษ์น้ำแห่งประเทศไทย
1.สืบสาน รักษา และต่อยอดตามแนวพระราชดําริฯ( พระราชปณิธาน ร.9)
2.ส่งเสริมการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและระบบนิเวศ
ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อวงจรชีวิต
3.ดำเเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือความร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ
เพื่อสาธารณะประโยชน์
4.เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการรักษาสิ่งแวดล้อม
ในกิจกรรมการของธุรกิจการท่องเที่ยว
5.ส่งเสริมดำรงชีพตามแนวทางพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
6.ส่งเสริมการเกษตรควบคู่การท่องเที่ยว
7.หยึดหลัก 23 ประการ
การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
8.อนุรักษ์น้ำป่าฟื้นฟู้ระบบนิเวศวิทยาพื้นที่ป่าแหล่งต้นน้ำลำธาร และภูมิทัศน์อันงดงาม ต้องได้รับการดูแลรักษา ให้คงสภาพสมบูรณ์ และคงคุณค่าอย่างยังยืนสืบทอดถึงลูกหลานตลอดไป
กิจกรรมขององค์การ
1.สร้างฝ่ายต้นน้ำขนาดเล็ก และ แฝกเป็นแนวทางการฟื้นฟู่
และรักษาระบบนิเวศ
2.ปลูกฝังชาวบ้านให้มีความรู้ ความเข้าใจ
ในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบอยู่อย่างพึ่งพากัน
3.เพื่อฟื้นฟู้ เยียวยาทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้
ต้นน้ำน้ำลำธาร ป่าเขา ดิน น้ำ คน
4.ปลูกฝังให้ชาวบ้านให้รู้ถึงแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ
5.ศูนย์การเรียนรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ทฤษฎีใหม่
6.รองรับผลิตผลทางการเกษตร โดยหาตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิต
7.ยึดหลักมงคล 10 ประการ
วัตถุประสงค์ในการสร้างฝาย
1.เพื่อชะลอการไหลและลดความรุ่นแรงของกระเสน้ำในลำธาร
ไม่ให้ไหลหลากอย่างรวดเร็วและทำให้น้ำซึมลงสู่ดินได้มากขึ้นเพิ่มความชุ่มชื้นสงผลให้เกิด
ความ หลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าต้นน้ำลำธาร
2.เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดการชะลอการพังทลายของดิน
และสามารถกักเก็บตะกอนและเศษซากพืชที่ไหลลงมากับน้ำในลำธารบนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ซึ่งจะช่วยยืดอายุของแหล่งน้ำน้ำต้อนล่างให้ตื้นเขินช้าลง
และทำให้ปริมาณและคุณภาพของน้ำที่ดีขึ้น
3.เพื่อกักเก็บน้ำไว้เป็นแหล่ง
สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่า
ตลอดจนการเกษตรกรรม
รูปแบบของฝายต้นลำธาร
เศรษฐ์กิจชุมชนต้นน้ำ
ซึ่งฝายต้นน้ำจะช่วยสร้างความชุ่มชื่น ดักดินตะกอน
และเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ดังนั้น
ในการสร้างฝายต้นน้ำแต่ละชนิดจึงวัตถุประสงค์ละความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างแตกต่างกันออกไปด้วย
จึงได้แบ่งฝายต้นน้ำออกเป็น 3 รูปแบบ
1.ฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน
เป็นฝายที่สร้างขึ้นเป็นการชั่วคราว
เพื่อขวางทางเดินของน้ำในลำธาร หรือร่องน้ำ
สามารถทำได้อย่างรวดเร็วด้วยวัสดุที่หาง่ายและราคาถูก
โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องที่นั้น ได้แก่ กิ่งไม้ ใบไม้
เสาไม้ ก้อนหิน กระสอบทรายผสมซีเมนต์ หรือลวดตาข่าย
หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันดังนั้น
ฝายชนิดนี้อาจมีชื่อเรียกตามวัสดุที่ใช้หรือลักษณะที่สร้าง
อาทิ ฝายผสมผสานแบบไม้ไผ่ ฝายผสมผสานแบบคอกหมู
ฝายผสมผสานแบบกระสอบฝายผสมผสานแบบหินทิ้ง
และฝายผสมผสานแบบลวดตาข่าย เป็นต้น
ความสูงทั้งหมดของฝายประมาณ 0.6-1.0 เมตร
ราคาในการสร้างฝายประมาณ 5,000 บาท
อายุของฝายประเภทนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้เป็นสำคัญ
โดยทั่วไปควรมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี
จุดที่จะสร้างฝาย
ควรจะเป็นบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ (first order)
และสร้างห่างกันโดยให้สันของฝายที่ต่ำกว่าอยู่สูงเท่ากับฐานของฝายที่อยู่ถัดขึ้นไปแต่อย่างไรก็ตาม
ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในพื้นที่เป็นสำคัญ
ฝายชนิดนี้จะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ
และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝาย
2.ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร
เป็นฝายที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง
หรือก่ออิฐถือปูน ราคาประมาณ 25,000 บาท
จุดที่จะสร้างฝาย ควรสร้างบริเวณตอนกลาง
และตอนล่างของลำธารหรือร่องน้ำ (second order)
ที่กว้างไม่เกิน 3 เมตร
ฝายชนิดนี้จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง
3.ฝายต้นน้ำลำธารแบบถาวร
เป็นฝายที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือ
ก่ออิฐถือปูน ราคาประมาณ 50,000 บาท
จุดที่จะสร้างฝาย
ควรสร้างบริเวณตอนปลายของลำธารหรือร่องน้ำ (second or
third order) ที่กว้างไม่เกิน 5 เมตร
ฝายชนิดนี้จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี
สามารถอำนวยประโยชน์เป็นแหล่งน้ำของชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย
ประโยชน์ของฝายต้นน้ำลำธาร
1.ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน
และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร
ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น
ความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น
และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินบางส่วนด้วย
2.ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่าง ๆ
ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี
เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง
คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
3.ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
และการทดแทนของสังคมพืชให้แก่พื้นที่โดยรอบ
4.ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่าต่าง
ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย
5.ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง
การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
1. การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน
เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน
ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในดิน
ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร
ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้
2. การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก
3. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน
โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้
ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา
หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก
โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
4. การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน
โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล
ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน
5.
การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา
6. การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ
ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ
หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน
7. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม
8. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง
โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง
และปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน
9. การปลูกในพื้นที่ดินดาน
รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น
และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น
10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ
รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและ
รากยังมี
ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น
ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก
1. ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
2. ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา
ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้
ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้
3. หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ
และแก้ไข้ได้
ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้
อาทิเช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ Vetiver
จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ
ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน
จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International
Erosion ControlAssociation(IECA) ได้มีมต ถวายรางวัลThe
International Erosion Control Associations
International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำ
หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30
ตุลาคม พ.ศ. 2536
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก
ได้นำคณะเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ
ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็น
รางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition)
ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่น
ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก
ความอุดมสมบูรณ์ ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้
เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกล
แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
ไทยที่กำลังถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
พืชจากพระราชดำริ
: กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์ และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์
จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ
หญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย
ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน
ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถ
ดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก
ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย
จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลอง
เกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก
หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass
มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria
nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides
Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น
มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.
มีส่วนกว้าง 5-9 มม.
หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว
โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน
ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้
เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า
25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และ
เมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อไห้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ..ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว
ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด
ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ
และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนักในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต
และให้ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างและรวดเร็วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
คำว่า
Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฏีใหม่... Sufficiency
Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะความหมายว่าเรามีความคิดใหม่....และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ
ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง
หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม
2542
|
The wilderness society organization of Thailand
236/2 Moo. 5 Chiang Mai - Lumphun Rd
T. Yangneung A. Sarapee Chiang Mai 50140
Tel 66-093-3361995 WhatsApp 66-66-93-3361995
http://www.wilderness-thailand.com Email:
palakname@hotmail.com |
องค์การป่ารักษ์น้ำแห่งประเทศไทย
236/2 หมู่ 5 ถ. ชม.-ลพ.
ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel 66-093-3361995 WhatsApp 66-66-93-3361995
http://www.wilderness-thailand.com Email:
palakname@hotmail.com |
|
|
? 2010-2017 The wilderness society organization of Thailand.
Webdesign By Rachada Srepaotong |
|
|
|